7.1 การสร้างเอกสารทางวิชาการ
เอกสารทางวิชาการ เป็นเอกสารที่มีแบบแผนเป็นทางการ มีรูปแบบเฉพาะ ซึ่งต้องพิถีพิถันในการจัดรูปแบบเอกสาร มีขั้นตอนการทำ ดังนี้
7.2 การพิมพ์บรรณานุกรม
การอ้างอิง หมายถึง การบอกแหล่งที่มาของข้อความที่ใช้อ้างอิง ในเนื้อหาที่นำมาเขียนเรียบเรียง ปัจจุบันในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ นิยมใช้ คือ
1. การอ้างอิงแบบแทรกปนในเนื้อหา ซึ่งมี 2 ระบบ (ส่งศรี ดีศรีแก้ว, 2534 : 78) คือ
1.1 ระบบนาม - ปี ( Author - date)
ระบบนาม - ปี เป็นระบบที่มีชื่อผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์ และเลขหน้า ที่อ้างอิงอยู่ภายในวงเล็บ ดังตัวอย่าง
(ชื่อผู้แต่ง. ปีที่พิมพ์ : เลขหน้าที่อ้างอิง)
1.2 ระบบหมายเลข (Number System) เป็นระบบที่คล้ายคลึงกับระบบนาม - ปี แต่ระบบนี้จะใช้หมายเลข แทนชื่อผู้แต่งเอกสารอ้างอิง มีอยู่ 2 วิธี
1.2.1 ให้หมายเลขตามลำดับของการอ้างอิง
1.2.2 ให้หมายเลขตามลำดับอักษรผู้แต่ง
บรรณานุกรม (Bibliography) หมายถึง รายการของทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดที่ผู้ทำรายงานได้ใช้ประกอบการเขียนรายงาน ทั้งที่ปรากฏชัดเจนโดยเขียนอ้างอิงไว้ และส่วนที่ไม่ปรากฏชัดเจน แต่อาจเป็นเพียงการรวบรวมความคิดหลาย ๆ แนว แล้วนำมาเรียบเรียงใหม่
ลำดับ ประเภทบรรณานุกรม
1. ตัวอย่าง บรรณานุกรมหนังสือภาษาไทย
2. ตัวอย่าง บรรณานุกรมภาษาอังกฤษ
3. ตัวอย่าง บรรณานุกรมวิทยานิพนธ์
4. ตัวอย่าง บรรณานุกรมบทความจากหนังสือ
5. ตัวอย่าง บรรณานุกรมบทความจากวารสาร
6. ตัวอย่าง บรรณานุกรมคอลัมน์จากวารสาร
7. ตัวอย่าง บรรณานุกรมคอลัมน์จากหนังสือพิมพ์
8. ตัวอย่าง บรรณานุกรมโสตทัศนวัสดุ
9. ตัวอย่าง บรรณานุกรมสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
1. บรรณานุกรมหนังสือภาษาไทย
แบบ ก
ชื่อ / ชื่อสกุล. / / ชื่อเรื่อง. / / ครั้งที่พิมพ์. / / เมืองที่พิมพ์ / : / ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์, /
/ / / / / / /ปีที่พิมพ์.
แบบ ข
ชื่อ / ชื่อสกุล. / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อเรื่อง. / / ครั้งที่พิมพ์. / / เมืองที่พิมพ์/ : / ผู้รับผิดชอบ
/ / / / / / / ในการพิมพ์
2. บรรณานุกรมหนังสือภาษาอังกฤษ
แบบ ก
ชื่อสกุล. / ชื่อต้น / ชื่อกลาง(ถ้ามี). / / ชื่อเรื่อง. / / ครั้งที่พิมพ์./ /เมืองที่พิมพ์/:/ผู้รับผิดชอบ
/ / / / / / /ในการพิมพ์./ / ปีที่พิมพ์.
แบบ ข
ชื่อสกุล./อักษรย่อชื่อต้น / อักษรย่อชื่อกลาง(ถ้ามี). / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อเรื่อง. / / ครั้งที่พิมพ์.
/ / / / / / / เมืองที่พิมพ์ / : / ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์.
3.บรรณานุกรมวิทยานิพนธ์
แบบ ก
ชื่อผู้เขียน. / / ชื่อเรื่อง. / / ระดับวิทยานิพนธ์. / / ชื่อเมืองที่พิมพ์ / : / ชื่อมหาวิทยาลัย, /
/ / / / / / / ปีที่พิมพ์.
แบบ ข
ชื่อผู้เขีัยน. / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อเรื่อง. / / ระัดับวิทยานิพนธ์, / ชื่อสาขา / คณะ /
/ / / / / / / ชื่อมหาวิทยาลัย.
4. บรรณานุกรมบทความจากหนังสือ
แบบ ก
ชื่อผู้เขียน./ / "ชื่อตอนหรือบทความ" / ใน / ชื่อหนังสือ. / / หน้า / เลขหน้า. / / ชื่อบรรณาธิการ
/ / / / / / / (ถ้ามี)./ / เมืองที่พิมพ์ / : / ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์, /ปีที่พิมพ์.
แบบ ข
ชื่อผู้เขีน. / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อบทความ. / / ใน / ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ)(ถ้ามี). / /
/ / / / / / / ชื่อหนังสือ. / / (หน้า / เลขหน้า). / / เมือง / : / ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์.
5. บรรณานุกรมบทความจากวารสาร
แบบ ก
ชื่อผู้เขียน. / / "ชื่อบทความ" / ชื่อวารสาร. / / ปีที่หรือเล่มที่ (ฉบับที่) / : / เลขหน้า; /
/ / / / / / / วัน (ถ้ามี) / เดือน / ปี.
แบบ ข
ชื่อผู้เขียน. / / (ปี, / วัน / เดือน). / / ชื่อบทความ. / / ชื่อวารสาร. ปีที่หรือเล่ม(ฉบับที่), /
/ / / / / / /เลขหน้า.
6.บรรณานุกรมคอลัมน์จากวารสาร
แบบ ก
ชื่อผู้เขียน. / /"ชื่อคอลัมน์ / : / ชื่อเรื่องในคอลัมน์" / ชื่อวารสาร. / / ปีที่หรือเล่มที่(ฉบับที่) / :
/ / / / / / /เลขหน้า ; / วัน (ถ้ามี) / เดือน / ปี.
แบบ ข
ชื่อผู้เขียน. / / (ปี, วัน / เดือน). / / ชื่อคอลัมน์/ : /ชื่อเรื่องในคอลัมน์. / / ชื่อวารสาร. / / ปีที่หรือ
/ / / / / / /เล่มที่(ฉบับที่),/เลขหน้า.
7.บรรณานุกรมคอลัมน์จากหนังสือพิมพ์
แบบ ก
ชื่อผู้เขียนบทความ. / / "ชื่อคอลัมน์ / : / ชื่อเรื่องในคอลัมน์" /ชื่อหนังสือพิมพ์. / / วัน / เดือน/
/ / / / / / /ปี. / / หน้า / เลขหน้า.
แบบ ข
ชื่อผู้เขียนบทความ. / /(ปี, / วัน / เดือน). / /ชื่อคอลัมน์/ : /ชื่อเรื่องในคอลัมน์./ / ชื่อหนังสือ
/ / / / / / / พิมพ์, / หน้า / เลขหน้า
8.บรรณานุกรมโสตทัศนวัสดุ
แบบ ก
ชื่อผู้จัดทำ,/ หน้าที่ที่รับผิดชอบ./ / ชื่อเรื่อง. / / [ลักษณะของโสตทัศนวัสดุ]./ / ชื่อเมือง / : /
/ / / / / / / ผู้รับผิดชอบในการจัดทำ, / ปีที่จัดทำ.
แบบ ข
ชื่อผู้จัดทำ,/ หน้าที่ที่รับผิดชอบ. / / (ปีที่จัดทำ). / / ชื่อเรื่อง. / / [ลักษณะของโสตทัศนวัสดุ]./ /
/ / / / / / / ชื่อเมือง / : / ผู้รับผิดชอบในการจัดทำ.
9.บรรณานุกรมสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
9.1 ฐานข้อมูล ซีดี - รอม
แบบ ก
ผู้แต่ง. / / ชื่อเรื่อง. / / [ประเภทของสือ]. / / รายละเอียดทางการพิมพ์(ถ้ามี). / /
/ / / / / / / เข้าถึงได้จาก / : /แหล่งสารสนเทศ.
แบบ ข
ผู้แต่ง./ / (ปีที่พิมพ์ / ผลิต,/วัน / เดือน). / / ชื่อเรื่อง. / / [ประเภทของสื่อ]. / /
/ / / / / / / รายละเอียดทางการพิมพ์(ถ้ามี). / / เข้าถึงได้จาก / : / แหล่งสารสนเทศ.
9.2 ฐานข้อมูลออนไลน์
แบบ ก
ผู้แต่ง./ / ชื่อเรื่อง./ / [ประเภทของสื่อ]. / / รายละเอียดทางการพิมพ์ (ถ้ามี). / /
เข้าถึงได้จาก / : /แหล่งสารสนเทศ. / / (วันที่ค้นข้อมูล / : / วัน / เดือน / ปี).
แบบ ข
ผู้แต่ง. / / (ปีที่พิมพ์ / ผลิต,/ วัน / เดือน). / / ชื่อเรื่อง. / / [ประเภทของสื่อ]. / / รายละเอียด
ทางการพิมพ์ (ถ้ามี). / / เข้าถึงได้จาก / : / แหล่งสารสนเทศ. / /
(วันที่ค้นข้อมูล / : / วัน / เดือน /ปี).
7.3 การแทรกเชิงอรรถ
เชิงอรรถ คือ ข้อความที่เขียนไว้ส่วนล่างของหน้า หรือส่วนท้ายของเรื่อง โดยมีเส้นคั่น จากตัวเรื่องให้เห็นชัดเจน มีหมายเลขกำกับไว้ตรงส่วนท้ายของข้อความ และส่วนต้นของเชิงอรรถ ซึ่งหมายเลข หรือ เครื่องหมายดอกจัน กำกับไว้นั้นจะต้องตรงกัน
7.4 การแทรกหัวกระดาษและท้ายกระดาษ
ในเอกสารทางวิชาการ เราจะเห็นข้อความที่เป็นชื่อบท หมายเลขหน้า หรือ โลโก้ของหน่วยงานปรากฏอยู่ที่หัวกระดาษ (Header) หรือท้ายกระดาษ (Footer) ในโปรแกรม Microsoft Word 2010 สามารถแทรกหัวกระดาษหรือท้ายกระดาษ ดังนี้
การเพิ่มหัวกระดาษและท้ายกระดาษ
คุณสามารถปิดหัวกระดาษหรือท้ายกระดาษสำหรับบางหน้า แทรกวันที่และเวลา และใช้รูปแบบการกำหนดหมายเลขหน้าแบบอื่นในหัวกระดาษหรือท้ายกระดาษได้
1. ย้ายตัวเมาส์ชี้ไปไว้ด้านบนสุดหรือล่างสุดของหน้าจนกว่าคุณจะเห็นพื้นที่หัวกระดาษหรือท้ายกระดาษ จากนั้นคลิกภายในพื้นที่นั้น
คุณสามารถใช้ช่องเพียงช่องเดียว สองช่อง หรือทั้งสามช่องสำหรับหัวกระดาษหรือท้ายกระดาษของคุณได้
หากคุณไม่เห็นพื้นที่หัวกระดาษหรือท้ายกระดาษ ให้เลือกกล่องกาเครื่องหมายหัวกระดาษและท้ายกระดาษในส่วนเอกสารของตัวตรวจสอบการตั้งค่า
2. ป้อนข้อความหรือหมายเลขหน้า
คุณอาจเห็นตัวเลือกในการเริ่มต้นหัวกระดาษหรือท้ายกระดาษใหม่ โดยขึ้นอยู่กับเนื้อหาหัวกระดาษและท้ายกระดาษที่มีอยู่ และคุณมีส่วนในเอกสารของคุณมากกว่าหนึ่งส่วนหรือไม่
การลบหัวกระดาษหรือท้ายกระดาษ
ยกเลิกการเลือกกล่องกาเครื่องหมายหัวกระดาษหรือท้ายกระดาษในบานหน้าต่างเอกสารของตัวตรวจสอบส่วน
หากคุณเปลี่ยนใจ ให้กด Command-Z เพื่อแสดงข้อความที่ลบ การเลือกกล่องกาเครื่องหมายอีกครั้งจะไม่เรียกคืนข้อความที่ลบไปกลับมา
การซ่อนหัวกระดาษและท้ายกระดาษในหน้าแรก
คุณสามารถซ่อนหัวกระดาษและท้ายกระดาษในหน้าแรกของส่วนได้ (เอกสารทุกฉบับมีอย่างน้อยหนึ่งส่วน)
1. คลิกในส่วนที่คุณต้องการแก้ไข
2. ในบานหน้าต่างส่วนของตัวตรวจสอบการตั้งค่า เลือกกล่องกาเครื่องหมายถัดจาก “ซ่อนในหน้าแรกของแรก”
การเพิ่มหมายเลขหน้า การนับจำนวนหน้า หรือวันที่
คุณสามารถใส่หมายเลขหน้า จำนวนหน้า หรือวันที่และเวลาได้ทุกตำแหน่งในหน้าเอกสาร หากคุณต้องการให้ข้อมูลนี้ปรากฏในตำแหน่งเดียวกันทุกหน้า ให้ใส่ข้อมูลในหัวกระดาษหรือท้ายกระดาษ
1. คลิกตำแหน่งที่คุณต้องการเพิ่มหมายเลขหน้า จำนวนหน้า หรือวันที่
ในการวางไว้ในหัวกระดาษหรือท้ายกระดาษ ให้ย้ายตัวเมาส์ชี้ไปวางที่ด้านบนสุดหรือล่างสุดของหน้าจนกว่าคุณจะเห็นพื้นที่หัวกระดาษหรือท้ายกระดาษ จากนั้นคลิกตำแหน่งที่คุณต้องการให้ข้อความปรากฏ
2. เลือกตัวเลือกหมายเลขจากเมนูป๊อปอัพ หรือคลิก แทรก ในแถบเครื่องมือ จากนั้นเลือกวิธีใด ๆ ต่อไปนี้:
§ หมายเลขหน้า: เพิ่มหมายเลขหน้าไปยังทุก ๆ หน้า
§ จำนวนหน้า: แสดงจำนวนหน้าในเอกสาร
§ วันที่และเวลา: เพิ่มวันที่และเวลาปัจจุบัน
สำหรับรูปแบบหมายเลขหน้าที่รวมถึงจำนวนหน้า (ตัวอย่างเช่น 2 จาก 8), ให้เลือก หมายเลขหน้า แล้วป้อน “จาก” พร้อมเว้นวรรคหน้าและหลังคำ คลิก แทรก อีกครั้ง จากนั้นเลือก จำนวนหน้า
คุณสามารถจัดรูปแบบข้อความและปรับการจัดแนวของข้อความได้โดยใช้ตัวควบคุมในบานหน้าต่างรูปแบบของตัวตรวจสอบรูปแบบ
การเปลี่ยนลำดับหมายเลขหน้า
หมายเลขหน้าโดยปกติจะแสดงตามลำดับชุดตัวเลข แต่คุณสามารถทำให้ส่วนหรือหน้าของเอกสารเริ่มต้นด้วยหมายเลขบางหมายเลขได้
1. คลิกถัดจากหมายเลขหน้าที่คุณต้องการเปลี่ยน
2. คลิกปุ่ม “เริ่มใช้หัวกระดาษ/ท้ายกระดาษใหม่ที่นี่”
3. คลิก การตั้งค่า จากนั้นคลิก ส่วนที่เลือก
4. ในส่วนการกำหนดหมายเลขหน้า ให้เลือก “เริ่มต้นที่:” แล้วป้อนหมายเลขเริ่มต้นหมายเลขใหม่
7.5 การแทรกหมายเลขหน้า
การทำรายงานต้องประกอบไปด้วย หน้าแรก คำนำ สารบัญ เนื้อหา อ้างอิง หรืออื่นๆ แล้วต้องมีเลขหน้า โดยส่วนใหญ่จะทำแยกไฟล์ word เพื่อจะทำการแทรกเลขหน้าง่ายขึ้นเช่น สารบัญ 1 ไฟล์ เนื้อหา 1 ไฟล์ เป็นต้น
เนื่องจากการแทรกเลขหน้าใน word โดยปกติทั้วไปจะแทรกเลขหน้าทุกหน้าในไฟล์นั้นๆ และสามารถเลือกแทรกเลขหน้าบางหน้าใน word ได้โดยวันนี้จะมาแนะนำการแทรกเลขหน้าแบบกำหนดหน้าเริ่มต้นได้เอง โดยอาจจะแบ่งหน้าสารบัญ คำนำเป็นหน้า ก ข ค หน้าเนื้อหาเริ่มนับ 1 2 3 เป็นต้น โดยให้ทั้งหมดอยู่ในไฟล์word เดียวกัน มาเริ่มกันเลยนะครับ
7.6 การแทรกดัชนี
ดัชนี (Index) คือ รายการที่ใช้อ้างอิงหรือข้อความที่ใช้ในเอกสาร หนังสือ นิตยาสาร โดยอ้างอิงตามหมายเลขหน้า สำหรับใช้ค้นหาคำหรือข้อความเหล่านั้นได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
7.7 การแทรกสารบัญ
สารบัญ คือรายการหัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อยตามที่ปรากฏเป็นลำดับภายในภาคนิพนธ์
รูปแบบของสารบัญมีดังนี้
รูปแบบของสารบัญมีดังนี้
1. เขียนคำว่าสารบัญบรรทัดแรก
2. เว้น 1 บรรทัด แล้วขึ้นบรรทัดใหม่ เขียนคำว่าไว้ตรงกั้นหน้า และคำว่าหน้าไว้ตรงกั้นหลัง
3. เว้น 1 บรรทัด ขึ้นบรรทัดใหม่ย่อหน้า 2 ตัวอักษรแล้วใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.)
ติดต่อกันไปจนเกือบจะถึงกันหลัง เว้นวรรค 2 ตัวอักษร
ติดต่อกันไปจนเกือบจะถึงกันหลัง เว้นวรรค 2 ตัวอักษร
4. แล้วเขียนหมายเลขหน้าตามที่หัวข้อปรากฏในภาคนิพนธ์ โดยให้หลักหน่วยของ
เลขหน้าตรงกับสระอาของคำว่าหน้าที่อยู่บรรทัดข้างบน
เลขหน้าตรงกับสระอาของคำว่าหน้าที่อยู่บรรทัดข้างบน
5. แต่ละหัวข้อ ให้บรรทัดใหม่ ย่อหน้าตรงกันลงมา หากหัวข้อใดยาวเกินกว่า 1 บรรทัด ให้ตัดแบ่งข้อความเพียงเศษสามส่วนสี่บรรทัดแล้วขึ้นบรรทัดใหม่ โดยย่อหน้าเข้าไป
2 ตัวอักษร เขียนหัวข้อจนจบแล้วจึงเว้นวรรค2 ตัวอักษร ใส่จุดและเลขหน้า
2 ตัวอักษร เขียนหัวข้อจนจบแล้วจึงเว้นวรรค2 ตัวอักษร ใส่จุดและเลขหน้า
6. อย่างไรก็ตามแต่และหัวข้อไม่ควรยาวเกินไป
7. หัวข้อย่อย ๆ ไม่ควรนำมาทำสารบัญ หากจำเป็นต้องนำหัวย่อยมาทำสารบัญให้
ย่อหน้าเข้าไปจากหัวข้อใหญ่ 2 ตัวอักษร
ย่อหน้าเข้าไปจากหัวข้อใหญ่ 2 ตัวอักษร
8. เมื่อหมด ให้เว้น 1 บรรทัด บรรนาณุกรมและส่วนประกอบตอนท้ายอื่น ๆ เท่าที่มีจริง
พร้อมเขียนเลขกำกับ โดยแต่ละส่วนประกอบตอนท้ายให้เว้น 1 บรรทัดเสมอ
พร้อมเขียนเลขกำกับ โดยแต่ละส่วนประกอบตอนท้ายให้เว้น 1 บรรทัดเสมอ
9. หากสารบัญยาวเกินกว่า 1 หน้า ให้ต่อในหน้าใหม่โดยไม่ต้องเขียนคำว่าสารบัญอีก
แต่เขียนคำว่าเรื่อง และหน้า
แต่เขียนคำว่าเรื่อง และหน้า
7.8 การพิมพ์ปกหน้า
ปกหน้า เป็นส่วนแรกที่จะดึงดูดความสนใจให้เปิดอ่านเอกสารของเรา ฉะนั้นเราควรออกแบบให้สะดุดตา โดยอาศัยหลักการวางอาศัยหลักการวางองค์ประกอบทางศิลปะ 5 ประการดังนี้
1 .ความสมดุล หรือ ดุลยภาพ หมายถึง น้ำหนักที่เท่ากันขององค์ประกอบ ไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งในทางศิลปะยังรวมถึงความประสานกลมกลืน ความพอเหมาะพอดีของ ส่วนต่าง ๆ ในรูปทรงหนึ่ง หรืองานศิลปะชิ้นหนึ่ง การจัดวางองค์ประกอบต่าง ๆ ลงใน งานศิลปกรรมนั้นจะต้องคำนึงถึงจุดศูนย์ถ่วง ในธรรมชาตินั้น ทุกสิ่งสิ่งที่ทรงตัวอยู่ได้โดยไม่ล้มเพราะมีน้ำหนักเฉลี่ยเท่ากันทุกด้าน
ฉะนั้น ในงานศิลปะถ้ามองดูแล้วรู้สึกว่าบางส่วนหนักไป แน่นไป หรือ เบา บางไปก็จะทำให้ภาพนั้นดูเอนเอียง และเกิดความ รู้สึกไม่สมดุล เป็นการบกพร่องทางความงาม ดุลยภาพในงานศิลปะ มี 2 ลักษณะ คือ
1.1 ดุลยภาพแบบสมมาตร (Symmetry Balance) หรือ ความสมดุลแบบซ้ายขวาเหมือนกัน คือ การวางรูปทั้งสองข้างของแกนสมดุล เป็นการสมดุลแบบธรรมชาติลักษณะแบบนี้ใน ทางศิลปะมีใช้น้อย ส่วนมากจะใช้ในลวดลายตกแต่ง ในงานสถาปัตยกรรมบางแบบ หรือ ในงานที่ต้องการดุลยภาพที่นิ่งและมั่นคงจริง ๆ
1.2 ดุลยภาพแบบอสมมาตร (Asymmetry Balance) หรือ ความสมดุลแบบซ้ายขวาไม่เหมือนกันมักเป็นการสมดุลที่เกิดจาการจัดใหม่ของมนุษย์ ซึ่งมีลักษณะที่ทางซ้ายและขวาจะไม่ เหมือนกันใช้องค์ประกอบที่ไม่เหมือนกัน แต่มีความสมดุลกัน อาจเป็นความสมดุลด้วย น้ำหนักขององค์ประกอบ หรือสมดุลด้วยความรู้สึกก็ได้ การจัดองค์ประกอบให้เกิดความ สมดุลแบบอสมมาตรอาจทำได้โดย เลื่อนแกนสมดุลไปทางด้านที่มีน้ำหนักมากว่า หรือ เลื่อนรูปที่มีน้ำหนักมากว่าเข้าหาแกน จะทำให้เกิดความสมดุลขึ้น หรือใช้หน่วยที่มีขนาดเล็กแต่มีรูปลักษณะที่น่าสนใจถ่วงดุลกับรูปลักษณะที่มีขนาดใหญ่แต่มีรูปแบบธรรมดา
ฉะนั้น ในงานศิลปะถ้ามองดูแล้วรู้สึกว่าบางส่วนหนักไป แน่นไป หรือ เบา บางไปก็จะทำให้ภาพนั้นดูเอนเอียง และเกิดความ รู้สึกไม่สมดุล เป็นการบกพร่องทางความงาม ดุลยภาพในงานศิลปะ มี 2 ลักษณะ คือ
1.1 ดุลยภาพแบบสมมาตร (Symmetry Balance) หรือ ความสมดุลแบบซ้ายขวาเหมือนกัน คือ การวางรูปทั้งสองข้างของแกนสมดุล เป็นการสมดุลแบบธรรมชาติลักษณะแบบนี้ใน ทางศิลปะมีใช้น้อย ส่วนมากจะใช้ในลวดลายตกแต่ง ในงานสถาปัตยกรรมบางแบบ หรือ ในงานที่ต้องการดุลยภาพที่นิ่งและมั่นคงจริง ๆ
1.2 ดุลยภาพแบบอสมมาตร (Asymmetry Balance) หรือ ความสมดุลแบบซ้ายขวาไม่เหมือนกันมักเป็นการสมดุลที่เกิดจาการจัดใหม่ของมนุษย์ ซึ่งมีลักษณะที่ทางซ้ายและขวาจะไม่ เหมือนกันใช้องค์ประกอบที่ไม่เหมือนกัน แต่มีความสมดุลกัน อาจเป็นความสมดุลด้วย น้ำหนักขององค์ประกอบ หรือสมดุลด้วยความรู้สึกก็ได้ การจัดองค์ประกอบให้เกิดความ สมดุลแบบอสมมาตรอาจทำได้โดย เลื่อนแกนสมดุลไปทางด้านที่มีน้ำหนักมากว่า หรือ เลื่อนรูปที่มีน้ำหนักมากว่าเข้าหาแกน จะทำให้เกิดความสมดุลขึ้น หรือใช้หน่วยที่มีขนาดเล็กแต่มีรูปลักษณะที่น่าสนใจถ่วงดุลกับรูปลักษณะที่มีขนาดใหญ่แต่มีรูปแบบธรรมดา
2. จังหวะลีลา หมายถึง การเคลื่อนไหวที่เกิดจาการซ้ำกันขององค์ประกอบ เป็นการซ้ำที่เป็นระเบียบ จากระเบียบธรรมดาที่มีช่วงห่างเท่าๆ กัน มาเป็นระเบียบที่สูงขึ้น ซับซ้อนขึ้นจนถึงขั้นเกิดเป็นรูปลักษณะของศิลปะ โดยเกิดจาก การซ้ำของหน่วย หรือการสลับกันของหน่วยกับช่องไฟ หรือเกิดจาก การเลื่อนไหลต่อเนื่องกันของเส้น สี รูปทรง หรือ น้ำหนัก
รูปแบบๆ หนึ่ง อาจเรียกว่าแม่ลาย การนำแม่ลายมาจัดวางซ้ำ ๆ กันทำให้เกิดจังหวะและถ้าจัดจังหวะให้แตกต่างกันออกไป ด้วยการเว้นช่วง หรือสลับช่วง ก็จะเกิดลวดลายที่แตกต่างกันออกไป ได้อย่างมากมาย แต่จังหวะของลายเป็นจังหวะอย่างง่าย ๆ ให้ความ รู้สึกเพียงผิวเผิน และเบื่อง่าย เนื่องจากขาดความหมาย เป็นการรวมตัวของสิ่งที่เหมือนกัน แต่ไม่มีความหมายในตัวเอง จังหวะที่น่าสนใจและมีชีวิต ได้แก่ การเคลื่อนไหวของ คน สัตว์ การเติบโตของพืช การเต้นรำเป็นการเคลื่อนไหวของโครงสร้างที่ให้ความบันดาล ใจในการสร้างรูปทรงที่มีความหมาย
3. สัดส่วน หมายถึง ความสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสมระหว่างขนาดของ องค์ประกอบที่แตกต่างกัน ทั้งขนาดที่อยู่ในรูปทรงเดียวกันหรือระหว่างรูปทรง และรวมถึงความสัมพันธ์กลมกลืนระหว่างองค์ประกอบทั้งหลายด้วย ซึ่งเป็นความพอเหมาะพอดี ไม่ มากไม่น้อย ขององค์ประกอบทั้งหลายที่นำมาจัดรวมกัน ความเหมาะสมของสัดส่วนอาจ พิจารณาจากคุณลักษณะดังต่อไปนี้
1.1 สัดส่วนที่เป็นมาตรฐาน จากรูปลักษณะตามธรรมชาต ของ คน สัตว์ พืช ซึ่งโดยทั่วไป ถือว่า สัดส่วนตามธรรมชาติ จะมีความงามที่เหมาะสมที่สุด หรือจากรูปลักษณะที่เป็นการ สร้างสรรค์ของมนุษย์ เช่น Gold section เป็นกฎในการสร้างสรรค์รูปทรงของกรีก ซึ่งถือว่า "ส่วนเล็กสัมพันธ์กับส่วนที่ใหญ่กว่า ส่วนที่ใหญ่กว่าสัมพันธ์กับส่วนรวม" ทำให้สิ่งต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นมีสัดส่วนที่สัมพันธ์กับทุกสิ่งอย่างลงตัว
1.2 สัดส่วนจากความรู้สึก โดยที่ศิลปะนั้นไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อความงามของรูปทรงเพียง อย่างเดียว แต่ยังสร้างขึ้นเพื่อแสดงออกถึง เนื้อหา เรื่องราว ความรู้สึกด้วย สัดส่วนจะช่วย เน้นอารมณ์ ความรู้สึก ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ และเรื่องราวที่ศิลปินต้องการ ลักษณะเช่น นี้ ทำให้งานศิลปะของชนชาติต่าง ๆ มีลักษณะแตกต่างกัน เนื่องจากมีเรื่องราว อารมณ์ และ ความรู้สึกที่ต้องการแสดงออกต่าง ๆ กันไป เช่น กรีก นิยมในความงามตามธรรมชาติเป็น อุดมคติ เน้นความงามที่เกิดจากการประสานกลมกลืนของรูปทรง จึงแสดงถึงความเหมือน จริงตามธรรมชาติ ส่วนศิลปะแอฟริกันดั้งเดิม เน้นที่ความรู้สึกทางวิญญานที่น่ากลัว ดังนั้น รูปลักษณะจึงมีสัดส่วนที่ผิดแผกแตกต่างไปจากธรรมชาติทั่วไป
4. เอกภาพ หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขององค์ประกอบศิลป์ทั้งด้านรูปลักษณะและด้านเนื้อหาเรื่องราว เป็นการประสานหรือจัดระเบียบของส่วนต่าง ๆให้เกิดความเป็น หนึ่งเดียวเพื่อผลรวมอันไม่อาจแบ่งแยกส่วนใดส่วนหนึ่งออกไป
การสร้างงานศิลปะ คือ การสร้างเอกภาพขึ้นจากความสับสน ความยุ่งเหยิง เป็นการจัดระเบียบ และดุลยภาพ ให้แก่สิ่งที่ขัดแย้งกันเพื่อให้รวมตัวกันได้ โดยการเชื่อมโยงส่วนต่าง ๆให้สัมพันธ์กันเอกภาพของงานศิลปะ มีอยู่ 2 ประการ คือ
4.1เอกภาพของการแสดงออก หมายถึง การแสดงออกทีมีจุดมุ่งหมายเดียว แน่นอน และมี ความเรียบง่าย งานชิ้นเดียวจะแสดงออกหลายความคิด หลายอารมณ์ไม่ได้ จะทำให้สับสน ขาดเอกภาพ และการแสดงออกด้วยลักษณะเฉพาตัวของศิลปินแต่ละคน ก็สามารถทำให้ เกิดเอกภาพแก่ผลงานได
4.2. เอกภาพของรูปทรง คือ การรวมตัวกันอย่างมีดุลยภาพ และมีระเบียบขององค์ประกอบ ทางศิลปะ เพื่อให้เกิดเป็นรูปทรงหนึ่ง ที่สามารถแสดงความคิดเห็นหรืออารมณ์ของศิลปิน ออกได้อย่างชัดเจน เอกภาพของรูปทรง เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดต่อความงามของผลงานศิลปะ เพราะเป็นสิ่งที่ศิลปินใช้เป็นสื่อในการแสดงออกถึงเรื่องราว ความคิด และอารมณ์ ดังนั้นกฎเกณฑ์ในการสร้างเอกภาพในงานศิลปะเป็นกฎเกณฑ์เดียวกันกับธรรมชาติ ซึ่งมีอยู่ 2 หัวข้อ คือ
1. กฎเกณฑ์ของการขัดแย้ง (Opposition) มีอยู่ 4 ลักษณะ คือ
1.1 การขัดแย้งขององค์ประกอบทางศิลปะแต่ละชนิด และรวมถึงการขัดแย้งกันของ องค์ประกอบต่างชนิดกันด้วย
1.2 การขัดแย้งของขนาด
1.3 การขัดแย้งของทิศทาง
1.4 การขัดแย้งของที่ว่างหรือ จังหวะ
2. กฎเกณฑ์ของการประสาน (Transition) คือ การทำให้เกิดความกลมกลืน ให้สิ่งต่าง ๆ เข้ากันด้อย่างสนิท เป็นการสร้างเอกภาพจากการรวมตัวของสิ่งที่เหมือนกันเข้าด้วยกัน การประสานมีอยู่ 2 วิธี คือ
2.1 การเป็นตัวกลาง (Transition) คือ การทำสิ่งที่ขัดแย้งกันให้กลมกลืนกัน ด้วยการใช้ตัวกลางเข้าไปประสาน เช่น สีขาว กับสีดำ ซึ่งมีความแตกต่าง ขัดแย้งกันสามารถทำให้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีเอกภาพ ด้วยการใช้สีเทาเข้าไปประสาน ทำให้เกิดความกลมกลืนกัน มากขึ้น
2.2 การซ้ำ (Repetition) คือ การจัดวางหน่วยที่เหมือนกันตั้งแต่ 2 หน่วยขึ้นไป เป็นการสร้างเอกภาพที่ง่ายที่สุด แต่ก็ทำให้ดูจืดชืด น่าเบื่อที่สุด
นอกเหนือจากกฎเกณฑ์หลักคือ การขัดแย้งและการประสานแล้ว ยังมีกฎเกณฑ์รองอีก 2 ข้อ คือ
1. ความเป็นเด่น (Dominance) ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ
1.1 ความเป็นเด่นที่เกิดจากการขัดแย้ง ด้วยการเพิ่ม หรือลดความสำคัญ ความน่าสนใจในหน่วยใดหน่วยหนึ่งของคู่ที่ขัดแย้งกัน
1.2 ความเป็นเด่นที่เกิดจากการประสาน
2. การเปลี่ยนแปร (Variation) คือ การเพิ่มความขัดแย้งลงในหน่วยที่ซ้ำกัน เพื่อป้องกัน ความจืดชืด น่าเบื่อ ซึ่งจะช่วยให้มีความน่าสนใจมากขึ้น การเปลี่ยนแปรมี 4 ลักษณะ คือ
2.1 การปลี่ยนแปรของรูปลักษณะ
2.2 การปลี่ยนแปรของขนาด
2.3 การปลี่ยนแปรของทิศทาง
2.4 การปลี่ยนแปรของจังหวะ
การเปลี่ยนแปรรูปลักษณะจะต้องรักษาคุณลักษณะของการซ้ำไว้ ถ้ารูปมีการเปลี่ยน แปรไปมาก การซ้ำก็จะหมดไป กลายเป็นการขัดแย้งเข้ามาแทน และ ถ้าหน่วยหนึ่งมีการ เปลี่ยนแปรอย่างรวดเร็ว มีความแตกต่างจากหน่วยอื่น ๆ มาก จะกลายเป็นความเป็นเด่นเป็นการสร้างเอกภาพด้วยความขัดแย้ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น